บานเย็น สารปรับสภาพดินบานเย็น

฿720.00

บานเย็น สารปรับสภาพดินบานเย็น

รากขาว รากยาว เร่งแตกราก เพิ่มจำนวนรากกินปุ๋ย เร่งแตกกอ เร่งแตกใบ เร่งการเจริญเติบโต ดินร่วนซุย ลดการใช้ปุ๋ย เพิ่มผลผลิต

บานเย็น สารปรับสภาพดินบานเย็น

  • แก้ปัญหาดินดาน ดินแน่น และดินแข็งกระด้าง ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย อินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น และ ช่วยเพิ่มชั้นหน้าดิน
  • กระตุ้นระบบรากพืชและจุลินทรีย์ ทำให้พืชดูดซึมอาหารได้ดีขึ้น
  • ส่งเสริมการงอก งอกดีสม่ำเสมอ และเพิ่มจำนวนและการพัฒนารากดีขึ้น
  • ลดปริมาณการใช้ปุ๋ย เพราะพืชตอบสนองกับปุ๋ยมากขึ้น รากกินปุ๋ยได้ดี
  • กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช และความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันโรค
  • ป้องกันการเสื่อมโทรมจากการเก็บเกี่ยว โรคและแมลงต่างๆ
  • ทำให้ท่อทางเดินอาหารสะอาด กระตุ้นให้พืชแข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว
  • สามารถต้านทานโรคและแมลงได้ดี
  • เป็นตัวเสริมประสิทธิภาพของปุ๋ยและสารเคมีต่างๆ

บานเย็น สารปรับสภาพดินบานเย็น

เหมาะสำหรับ

  • พืชทุกชนิด เกษตรกรทุกคน

ส่วนประกอบสำคัญ

ฮิวมิกแอซิด
ซึ่งมีสรรพคุณช่วยแก้ปัญหาดินดาน ดินแน่น ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย เพิ่มการระบายน้ำ และ อากาศถ่ายเทได้ดี ช่วยปรับโครงสร้างสภาพของดิน ลดการแข็งกระด้างของหน้าดิน ลดความเป็นกรดของดิน ช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน ช่วยเพิ่มชั้นหน้าดินที่เสื่อมโทรม

ขนาดบรรจุ : 1 กล่องบรรจุด้วย 5 ซอง (ซองละ 20 กรัม)

วิธีใช้ : 
วิธีใช้ สารปรับสภาพดินบานเย็น

รหัสสินค้า: DNWS-032 หมวดหมู่: ป้ายกำกับ: , , ,

รายละเอียดเพิ่มเติม

ผลิตภัณฑ์เพิ่มผลผลิตการเกษตร บานเย็น สารปรับสภาพดินบานเย็น

รากขาว รากยาว เร่งแตกราก เพิ่มจำนวนรากกินปุ๋ย เร่งแตกกอ เร่งแตกใบ เร่งการเจริญเติบโต ดินร่วนซุย ลดการใช้ปุ๋ย เพิ่มผลผลิต

บานเย็น สารปรับสภาพดินบานเย็น

เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ช่วยในการปรับสภาพโครงสร้างของดิน แก้ปํญหาดินดาน ดินแน่น ช่วยเพิ่มชั้นหน้าดินที่เสื่อมโทรม ทำให้ดินร่วนฟู ลดการแข็งกระด้างของหน้าดิน ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย ระบายน้ำ ถ่ายเท ลดกรดของดิน เพิ่มอินทรีย์วัตถุและแร่ธาตุ กระตุ้นจุลินทรีย์ในดิน ช่วยให้พืชกินปุ๋ยที่ตกค้าง เร่งแตกกอ ใช้ได้ดีเยี่ยมกับพืชทุกชนิด

บานเย็น มีส่วนประกอบสำคัญ 5 ชนิดได้แก่

  • ฮิวมิก แอซิด
  • แร่ธาตุจากหินภูเขาไฟ
  • คลื่นความถี่แร่ธาตุ (Mineral Frequency)
  • แร่โลหะหายาก (Rare Earth Elements)
  • Fungus (กลุ่มแร่ธาตุอาหารของ mycorrhiza)

ฮิวมิก แอซิด

ฮิวมิก แอซิด เกิดจากการทับถมของซากพืชและซากสัตว์ เป็นระยะเวลานับล้านๆปี โดยผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในดิน เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ผ่านการสกัดด้วยกรรมวิธีอันทันสมัย กรดฮิวมิกมีประโยชน์ต่อพืชและดินโดยตรง เป็นแหล่งอาหารสำหรับพืชและจุลินทรีย์ ช่วยรักษาเสถียรภาพและโครงสร้างของดิน ช่วยรักษา pH ของดิน ช่วยให้ดินอุ้มน้ำ และช่วยดูดซับและสลายยาปราบศัตรูพืช

ประโยชน์ของฮิวมิก แอซิด ต่อพืช

  • เพิ่มอัตราการงอกของเมล็ด
  • กระตุ้นผลผลิตและดูดธาตุอาหาร
  • ช่วยเพิ่มการเจริญและแพร่กระจายของราก ต้น และใบ
  • กระตุ้นการลำเลียงน้ำและการสูญเสียน้ำไปจากพืช เซลพืชอุ้มน้ำมากขึ้น
  • เพิ่มการหายใจของพืช
  • เพิ่มประสิทธิภาพการดูดใช้ไนโตรเจนในพืช
  • มีอิทธิพลต่อปริมาณคลอโรฟิลด์ และการสังเคราะห์แสง
  • มีการสะสมคลอโรฟิลด์ ไม่ทำให้ใบพืชไม่เกิดอาการเหลือง
  • มีความทนทานต่อการเหี่ยว
  • พืชกระกูลถั่วจะมีปมรากมากขึ้น
  • กระตุ้นการดูดซับธาตุอาหารหลักและรองของระบบรากพืช
  • ช่วยกระตุ้นการทำงานของจุลินทรีย์ในดิน
  • ช่วยเพิ่มชั้นหน้าดินที่เสื่อมโทรม
  • ดินร่วนฟู ลดการแข็งกระด้างของหน้าดิน
  • ลดการปริมาณการใช้ปุ๋ย
  • พืชตอบสนองกับปุ๋ยมากขึ้น
  • พืชมีการเจริญเติบอย่างรวดเร็ว
  • รากพืชมีการเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็ว

แร่ธาตุจากหินภูเขาไฟ

จุดกำเนิดของ ธาตุอาหารจากหินภูเขาไฟที่สำคัญของพืช คือการระเบิดของภูเขาไฟบนเปลือกโลกและใต้ท้องทะเล เปลือกโลกที่เปลี่ยนแปลง จากใต้พื้นโลก สู่ ใต้พื้นน้ำ อยู่ ระดับพื้นดิน และดันตัวให้อยู่ เหนือพื้นดิน หลังเวลาที่ล่วงเลยได้มีการแปลงสภาพจากแร่ธาตุที่อยู่ในภูเขาไฟและซากพืชซากสัตว์และแพลงตอนในน้ำ ที่มีการทับถม ในระยะเวลาหลายๆ พันปี การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกส่งผลให้เกิด แร่ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืช แร่ธาตุอาหารนี้ เป็นแร่หินที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟทางตอนกลางของรัฐยูทาห์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้ได้กับพืชโดยไม่มีข้อจำกัด ไม่มีส่วนประกอบเคมีหรือสิ่งเจือปนใดๆ มีแร่ธาตุที่สำคัญ 67 ชนิด มีแร่ธาตุที่สำคัญทั้งหมดสำหรับพืช ส่วนแร่ธาตุเป็นพิษชนิดอื่นๆ อยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐานที่ AAFCO กำหนดคุณสมบัติ ใช้ในการปรับปรุงดิน ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มขนาดผล ใหญ่ขึ้นและเพิ่มปริมาณน้ำตาลสูงขึ้น กำจัดสารพิษจากเชื้อรา ช่วยปรับปรุงสวนส้มที่อยู่ในสภาพเสื่อมโทรม และถูกทำลายจากแมลง ช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย ป้องกันการแข็งตัว การจับตัวเป็นก้อนของปุ๋ย ผลการใช้ยอดเยี่ยม จึงขายรวดเร็วใน อเมริกาและแมกซิโก และ สามารถป้องกันอาการผิดปกติของพืชจากการขาดธาตุ อาหาร

คลื่นความถี่แร่ธาตุ (Mineral Frequency)

คือ คลื่นความถี่ของแร่ธาตุ ด้วยนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ

  1. ตัวกลางนำข้อมูล (Carrier)
  2. พลังงาน (Energy)
  3. ข้อมูลที่ถูกเลือก (Frequencies)

ผลิตภัณฑ์ จะถูกบรรจุ (charged) ด้วยความถี่ที่เฉพาะเจาะจง (specific frequency) ความถี่ที่เฉพาะ นี้จะมาจาก สมุนไพร, oxygen และ แร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญของพืช และสุดท้ายความถี่ที่เฉพาะนี้ จะไปกระตุ้นกระบวนการทางชีวภาพในพื้นที่เป้าหมาย
แนวคิดในการคิดค้น นวัตรกรรม คลื่นความแร่ธาตุ (Mineral Frequency ) จากแนวคิดกลศาสตร์ควันตั้ม (Quantum Mechanics) ทำงานโดยอาศัยพื้นฐานของ “frequency – resonance” (ความถี่และเสียงสะท้อน) คล้ายเครื่องรับวิทยุ Sender —— Transmitting Signal —— Receiver —— Reaction แตกต่างกันที่ความถี่ถูกส่งมาจะมีความต่อเนื่อง และถาวร

สรุปสิ่งที่ได้จากการใช้ คลื่นความถี่แร่ธาตุ (Mineral Frequency) เป็นตัวกระตุ้นการเจริญของพืช ทำให้พืชเขียวเข้ม และ ลดอาการขาดธาตุอาหารรอง โรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรียลดลง อัตราการงอกของเมล็ดสม่ำเสมอและแข็งแรง พืชตอบสนองกับปุ๋ยและสารเคมีต่างๆได้ดีขึ้น เป็นตัวเสริมประสิทธิภาพของสารเคมีต่างๆ

แร่โลหะหายาก (Rare Earth Elements)

โลหะหายาก คือ ธาตุในตระกูลแลนทานั่ม ซึ่งประกอบด้วย
ธาตุน้ำหนักเบา (LREE) ได้แก่ แลนทานัม (La), ซีเรียม (Ce), เพรซีโอดิเมียม (Pr), นีโอดิเมียม (Nd)
ธาตุน้ำหนักปานกลาง (MREE) ได้แก่ โพรมีเทียม (Pm), ซาแมเรียม (Sm), ยูโรเพียม (Eu), แกโดลิเนียม (Gd), เทอร์เบียม (Tb), ดิสโพรเซียม (Dy)
ธาตุน้ำหนักสูง (HREE) ได้แก่ โฮลเมียม (Ho), เออร์เบียม (Er), ทูเลียม (Tm), อิตเทอร์เบียม (Yb), ลูทีเซียม (Lu) และธาตุอิตเทรียม (Y) อาจรวมธาตุ ทอร์เรียม (Th) สแกนเดียม (Sc), ไนโอเบียม (Nb) และแทลทาลัม (Ta) เข้าไปด้วยเพราะมักเกิดร่วมกัน
*คำว่าธาตุหายากความจริงมีความหมายผิด เพราะธาตุ เหล่านี้ไม่เพียงแต่หาง่าย (บางธาตุหาง่ายกว่าโลหะเงิน) และโดยมากเป็นโลหะไม่ใช่อโลหะ

แร่โลหะหายาก คือ แร่ที่มีธาตุโลหะหายากอยู่ในปริมาณที่แตกต่างกันไป มีแร่มากกว่า 200 ชนิด ที่มีธาตุโลหะหายาก ถ้าจะแบ่งแร่มีโลหะหายากสามารถแยกได้เป็น

  • แร่ที่มีธาตุโลหะหายากต่ำมาก ได้แก่ แร่ประกอบหินทั้งหลาย
  • แร่ที่มีธาตุโลหะหายากเล็กน้อย มีธาตุมากกว่า 200 ชนิด ที่มี REE มากกว่า 0.01%
  • แร่ที่มีธาตุโลหะยากเป็นองค์ประกอบหลัก มีประมาณ 70 แร่ที่อยู่ในกลุ่มนี้ แร่ที่มีธาตุโลหะหายากที่สำคัญๆ

แร่ที่มีการนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด 3 แร่ คือ แบสต์นีไซต์ (Bastnaesite) โมนาไซต์ (Monazite) และ ซีโนไทม์ (Xenotime)
แบสต์นีไซต์ (Bastnaesite) เป็นแร่คาร์บอเนตฟลูออลีน มี REO 75% โดยมากเป็นโลหะธาตุหายากน้ำหนักเบาแหล่งแร่ที่ให้แร่นี้ก็คือพวกคาร์บอเนไทต์ เช่น Mountain Pass แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และ Baiyun Obo ในมองโกเลีย ประเทศจีน
โมนาไซต์ (Monazite) เป็นแร่ฟอสเฟตที่มีธาตุโลหะหายากน้ำหนักเบา โดยทฤษฏี มี REO 70% เป็นแร่ที่เกิดอยู่ในหินแกรนิต เนื่องจากเป็นแร่น้ำหนักสูง จึงมักไปรวมตัวในลานแร่ เป็นแร่พลอยได้จากการทำเหมืองแร่หนักจากลานแร่ พวก อิลเมไนต์ รูไทต์และเซอร์คอน
ซีโนไทม์ (Xenotime) เป็นแร่ฟอสเฟตของธาตุอิตเทรียม โดยทางทฤษฏีมี REO 67% ปกติพบในแหล่งลานแร่เป็นแร่พลอยได้จากการทำเหมืองแร่ดีบุกในไทยและมาเลเซีย
อะพาไทต์ (Apatite) เป็นแร่ฟอสเฟตของแคลเซียม ปกติทำเหมืองเพื่อเอาฟอสเฟตมาใช้ทำปุ๋ย แหล่งกำเนิดอาจเกิดในหินชั้นหรือหินอัคนี บางแหล่งมีธาตุโลหะหายากปนอยู่ ซึ่งเป็นธาตุพลอยได้จากการผลิตฟอสเฟต เช่น ในคาบสมุทรโคลา ในรัสเซีย ได้มีการทำเหมืองแร่นี้และได้ REO 1000-2000 ตัน/ปี
บรานเนอไรต์ (Brannerite) เกิดในเพกมาไทต์ ที่อาจจะเป็นแหล่งแร่ที่ให้ธาตุยูเรเนียม เช่น ใน Eiliot Lake ในคานาดา หัวแร่จะมีธาตุอิตเทรียมซึ่งสามารถแยกเป็นธาตุพลอยได้จากการแต่งแร่ Ion-Absorption Clays เป็นแร่ดินพวกเคโอลิน ที่มี REE ดูดซับอยู่ที่ผิว พบในมณฑลเจียงสี ประเทศจีน

แร่โลหะหายาก (Rare Earth Elements) กับการสนับสนุนกระบวนการทางชีวเคมีในพืช

  • สามารถเพิ่มผลผลิตถึง 15% ในพืชบางชนิด โดยเฉพาะบางพื้นที่ที่มีความชื้นจำกัด
  • ส่งเสริมกระบวนการตรึงไนโตรเจน ของ Azotobacter species
  • ส่งเสริมกระบวนการดูดซับไอออนของรากพืช
  • ส่งเสริมกระบวนการดูดซับ แมงกานีสและเหล็ก
  • ส่งเสริมกระบวนการ abscissic acid (ABA) production (plant hormone) ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาภาวะเครียด และช่วยการเจริญเติบโตได้
  • เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการสังเคราะห์แสง
  • ส่งเสริมเอนไซม์ Mg–ATPase ในกระบวนการสังเคราะห์แสง
  • ยับยั้งการทำงานของพิษเชื้อรา (Mycotoxin)

Fungus (กลุ่มแร่ธาตุอาหารของ mycorrhiza)

Fungus คือ ชื่อเฉพาะของธาตุอาหารและแร่ธาตุต่างๆ ในรูปแบบของ ฮิวมิก แอซิด ที่เป็นส่วนผสมของ ผลิตภัณฑ์ “บานเย็น” โดยธาตุอาหารและแร่ธาตุชนิดนี้ เพื่อการเจริญเติบโตของ “mycorrhiza“ คำว่า “mycorrhiza” (พหูพจน์ : mycorrhizas หรือ mycorrhizae) มาจากภาษากรีกว่า Mykes แปลว่า Mushroom หรือ fungus รวมกับ คำว่า rhiza แปลว่า root ดังนั้น ไมคอร์ไรซา (mycorrhiza) จึงเป็นความสัมพันธ์ระหว่างรากับระบบรากของพืชชั้นสูง โดยรานั้นต้องไม่ใช่ราที่เป็นสาเหตุของโรคพืช ส่วนรากพืชต้องเป็นรากที่มีอายุน้อย (Frank, 1885; Mikola, 1973, Hawksworth และคณะ, 1995) การอยู่ร่วมกันนี้เป็นการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน เอื้ออำนวยประโยชน์ซึ่งกันและกัน (symbiosis) เซลล์ของรากพืชและราสามารถถ่ายทอดอาหารให้กันและกันได้ ต้นพืชได้รับน้ำและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตจากรา ส่วนราได้รับสารอาหารจากต้นพืชผ่านมาทางระบบราก เช่น พวกแป้ง น้ำตาล โปรตีน และวิตามินต่าง ๆ (Hacskaylo, 1971) นอกจากนี้ราไมคอร์ไรซายังช่วยป้องกันรากพืชจากการเข้าทำลายของเชื้อโรคด้วย (Marx, 1973) สปอร์ของราไมคอร์ไรซาจะมีอยู่ทั่วๆ ไปในดิน (soil bome fungi)

ชนิดของไมคอร์ไรซา

Harley และ Smith (1983) ได้รวบรวมรายงานเกี่ยวกับไมคอร์ไรซา และจัดแบ่งไมคอร์ไรซาออกเป็น 7 กลุ่มได้แก่ ectomycorrhiza, endomycorrhiza (vesicular-arbuscular mycorrhiza), ectendomycorrhiza, ericoid mycorrhiza, arbutoid mycorrhiza, monotropoid mycorrhiza และ orchid mycorrhiza

Ectomycorrhiza เป็นไมคอร์ไรซาที่มีเส้นใยของราเจริญสานตัวกันเป็นแผ่น (fungal sheath) หรือเป็นเยื่อหุ้ม (mantle) อยู่รอบ ๆ ราก มีความหนาประมาณ 20-100 ไมครอน และมีน้ำหนักแห้งคิดเป็น 25-40 % ของน้ำหนักแห้งของรากทั้งหมด เส้นใยบางส่วนบริเวณนี้จะเจริญเข้าไปอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ชั้น epidermis กับเซลล์ชั้น cortex แล้วเส้นใยจะเจริญสานกันเป็นตาข่ายอยู่รอบ cortical cell เรียกว่า Hartig net (Atkinson, 1975; Warcup, 1980) ราเอคโตไมคอร์ไรซามีมากกว่า 5,000 ชนิด และเจริญร่วมกับพืชหลายชนิดในเขตภูมิอากาศต่าง ๆ ทั่วโลก ส่วนใหญ่ราเอคโตไมคอร์ไรซาเป็นราชั้นสูง จัดจำแนกอยู่ในกลุ่ม Basidiomycetes, Gasteromycetes, Ascomycetes และ Phycomycetes (Harley และ Smith, 1983)

Endomycorrhiza เป็นไมคอร์ไรซาที่มีเส้นใยเจริญอยู่รอบ ๆ รากพืชและบางส่วนของเส้นใยเจริญเข้าไปในเซลล์ของรากพืช (intracellular) และอาจเข้าไปอยู่ระหว่างเซลล์ (intercellular) ของรากพืชในชั้น cortex เส้นใยที่เจตริญอยู่รอบ ๆ รากพืชอยู่กันอย่างหลวม ๆ หรือยื่นออกจากรากพืชสู่ดินประมาณ 1 ซ.ม. ส่วนของเส้นใยราที่เจริญเข้าไปในรากพืชจะเจริญอยู่ในชั้น primary cortex เท่านั้น และนิยมเรียกชื่อกันในปัจจุบันว่า ราเวสสิคูล่าร์-อาร์บัสคูลาร์ ไมคอร์ไรซา (vesicular-arbuscular mycorrhiza : VAM) นอกจากเส้นใยในรากแล้ว ราเวสสิคูลาร์-อาร์บัสคูล่าร์ ไมคอร์ไรซานี้ ยังสร้างโครงสร้างที่ไม่มีใครเหมือนในเนื้อเยื่อราก 2 โครงสร้าง คือ โครงสร้างเวสสิเคิล (vesicle) และ อาร์บัสคูล (arbuscule) โดยเส้นใยจะเจริญเข้าไปอยู่ในเซลลชั้น cortex หรืออยู่ระหว่างเซล์ชั้น cortex ไม่เข้าไปในชั้น meristematic cells หรือชั้น endodermis เส้นใยอาจขดเป็นวงในเซลล์รากหรืออาจจะมีการแตกแขนงแบบ dichotomous จนเกือบเต็มเซลล์ ทำให้มีลักษณะคล้ายกะหล่ำดอกหรือคล้ายต้นไม้ (tree-like) อยู่ในเซลล์พืชเราเรียกโครงสร้างนั้นว่า อาร์บัสคูล (arbuscule) ซึ่งจะเจริญอยู่ระยะหนึ่งและสลายไป อาจเกิดจากการย่อยสลายของเซลล์พืชก็เป็นได้ โครงสร้าง arbuscule นั้นเป็นโครงสร้างซึ่งราใช้สะสมแร่ธาตุอาหารโดยเฉพาะฟอสฟอรัส ซึ่งเมื่อพืชย่อยสลายโครงสร้างนี้ สารอาหารสามารถถ่ายเทไปให้กับพืชได้ การถ่ายเทสารอาหารนั้นอาจเกิดจากการแลกเปลี่ยนสารอาหารที่บริเวณผิวหน้าของ arbuscule ที่สัมผัสกับเซลล์ได้ ราจะได้รับสารคาร์โบไฮเดรตจากพืช โครงสร้าง arbuscule นี้จะมีอายุประมาณ 2-14 วันก็จะสลายไป เมื่อโครงสร้าง arbuscule สลายไป ราก็จะมีการสร้างโครงสร้างซึ่งมีรูปร่างกลมหรือรูปไข่ ลักษณะคล้ายถุง ผนังหนา เกิดที่ปลายของเส้นใย (terminal) หรือตรงกลางเส้นใย (intercalary) ซึ่งโป่งบวมออมา ภายในมีหยดไขมันสีเหลืองบรรจุอยู่ เป็นโครงสร้างที่ใช้ในการเก็บสะสมอาหารของรา และเป็นโครงสร้างที่ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี เรียกโครงสร้างนี้ว่า เวสสิเคิล (vesicle) เนื่องจากโครงสร้างทั้งสองนี้เป็นโครงสร้างที่ไม่พบในราชนิดใด ๆ จึงทำให้นักวิจัยใช้โครงสร้างนี้ในการบ่งชี้ว่ามีราชนิดนี้เข้าอยู่อาศัยในพืชอาศัยหรือไม่ รากของพืชที่มีราอาศัยร่วมอยู่ด้วยสามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ แต่รากพืชบางชนิดอาจพบการเปลี่ยนสีเป็น สีเหลืองอ่อน และไม่มีรากขน ซึ่งสีเหลืองนี้จะจางหายไปเมื่อถูกแสงสว่างและความเข้มของสีขึ้นอยู่กับปริมาณการเข้าสู่รากของรา (Harley และ Smith, 1983)

Ectendomycorrhiza หรือ Pseudomycorrhiza เป็นไมคอร์ไรซาที่มีลักษณะอยู่ระหว่าง ectomycorrhiza และ endomycorrhiza อาจพบเส้นใยของราเจริญเกาะกันอยู่อย่างหลวม ๆ รอบ ๆ รากพืชหรือไม่พบเลย มีเส้นใยบางส่วนเจริญเข้าสู่เซลล์พืชแล้วขดเป็นวง (coil) อยู่ภายในเซลล์ บางครั้งพบเส้นใยเจริญเข้าไปอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ในชั้น cortex และสร้าง Hartig net ราที่มีการดำรงชีวิตแบบนี้เส้นใยจะมีผนังกั้น มีสีเข้ม จัดอยู่ใน class Basidiomycetes และ Ascomycetes บางครั้งพบการสร้าง chlamydospore อยู่ภายในเส้นใยที่โป่งบวม ไม่พบ conidia และโครงสร้างสืบพันธุ์อื่น ๆ ตัวอย่างราได้แก่ Rhizoctonia sylvestris, Phiolocephala dimorphospora พืชอาศัยของราไม้แก่ สน (pine), spruce, beech ซึ่งเป็นพืชในกลุ่ม Gymnospermae และ Angiospermae (Mikola, 1965; Harley และ Smith, 1983) ectendomycorrhiza มักจะพบ ectomycorrhiza เจริญขึ้นแทน (Wilcox, 1971; Thomas และ Jackson, 1979)

Ericoid mycorrhiza เป็นไมคอร์ไรซาของพืชใน order Ericales ลักษณะสำคัญของ ericoid mycorrhiza คือ เส้นใยของราชนิดนี้จะมีผนังกั้น บางชนิดเป็นราใน class Ascomycetes เช่น Pezizella ericae บางชนิดเป็นราใน class Basidiomycetes เช่น Clavaria ราจะเจริญเข้าสู่เซลล์พืชแล้วม้วนขดเป็นวง (coil) อยู่ในเซลล์ของ cortex ไม่สร้าง sheath หรือ Hartig ne พืชอาศัยเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กใน order Ericales family Ericaceae (sub-family Ericoideae, Vaccinioideae และ Rhododendroideae) family Epacridaceae และ family Empetraceae (Hartey และ Smith, 1983) เป็นไมคอร์ไรซาที่มีความสำคัญต่อพืชและระบบนิเวศน์เช่นเดียวกับไมคอร์ไรซาชนิดอื่น แต่ที่สำคัญ คือ ericoid mycorrhiza มีบทบาทสำคัญมากสำหรับพืชที่ปลูกในดินที่มีความเป็นกรดสูง Read (1978) ได้ศึกษาผลของ ericoid mycorrhiza ต่อการเจริญของ Erica baurea พืชประจำถิ่นอาฟริกาใต้ที่ออกดอกในฤดูแล้ง พบว่า E.baurea ที่มี ericoid mycorrhiza อยู่ด้วยมีความสามารถในการดูดธาตุในโตรเจน และสะสมไว้ในฤดูสืบพันธุ์ได้สูงกว่าพืชทีไม่มีไมคอร์ไรซา

Arbutoid mycorrhiza เป็นไมคอร์ไรซาของพืชใน order Ericales อีกชนิดหนึ่งโดยราที่อยู่ร่วมกับรากจะสร้างเส้นใยสานกันเป้นแผ่น (sheath) ล้อมรอบราก แล้วเส้นใยบางส่วนเจริญเข้าไปอยู่ระหว่างเซลล์ในชั้น cortex สร้าง Hartig net และมีเส้นใยเล็ก ๆ งอกแทงเข้าสู่เซลล์แล้วเจริญขดม้วนเป็นวง (coil) อยู่ภายในเซลล์ มักพบในต้นไม้และไม้พุ่ม (shrub) ที่โตเต็มที่แล้ว ราที่มีความสัมพันธ์กับพืชแบบนี้เป็นราใน class Basidiomycetes ซึ่งบางครั้งอาจจะมีความสัมพันธ์แบบ ectomycorrhiza หรือ ectendomycorrhiza กับพืชอาศัยชนิดอื่น เช่น Cortinarius zakii ซึ่งเป็น arbutoid mycorrhiza กับพืชArbutus menziesii และเป็น ectomycorrhiza กับพืช Pseudotsuga douglasii และกับพืช Abies grandis เป็นต้น (Zak, 1973, 1974; Duddridge, 1980)

Montropoid mycorrhiza เป็นไมคอร์ไรซาที่พบในพืช family Monotropaceae ซึ่งเป็นพืชที่ไม่ม่คลอโรฟิล มีระบบรากเป็นรากแก้ว รากแขนงและรากฝอย บริเวณรากแขนงจะพบเส้นใยของราสานกัน หนา 2-3 ชั้น เป็นแผ่น (sheath) และมีเส้นใยสานกันเป็นตาข่าย (Hartig net) ล้อมรอบเซลล์ชั้นนอกสุด (epidermis) และชั้น cortex ของพืช นอกเนือไปจากนี้เส้นใยของราบางส่วนแทงเข้าไปในเซลล์ของ epidermis แล้วเจริญเป็น haustoria ที่ไม่แตกแขนง พืชอาศัยที่มีการศึกษากันมาก คือ Monotropa hypopytis มักพบไมคอร์ไรซาชนิดนี้เจริญอยู่ร่วมกับไม้ป่าหลายชนิด เช่น บีช (beech), สน (pine) และ conifers ชนิดอื่น ๆ ราที่เป็นไมคอร์ไรซาชนิดนี้เป็นราใน class Basidiomycetes ตัวอย่างเช่น Boletus (Harley และ Smith, 1983)

Orchid mycorrhiza เป็นไมคอร์ไรซาที่พบในพืช family Orchidaceae หรือกล้วยไม้ชนิดต่างๆ มีความสัมพันธ์กับราใน class Basidiomycetes บางชนิด ที่สามารถย่อยเซลลูโลส (cellulose) และลิกนิน (lignin) ได้ ไมคอร์ไรซาชนิดนี้มีความสำคัญในการกระตุ้นการงอกของเมล็ดพืช และให้สารอาหารที่ต้นกล้าพืชต้องการในการเจริญเติบโต (Warcup, 1975)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Tel : 08-6611-6888

Line id: @DNetworkShop

เพิ่มเพื่อน

รีวิว

ยังไม่มีบทวิจารณ์

มาเป็นคนแรกที่วิจารณ์ “บานเย็น สารปรับสภาพดินบานเย็น”

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะชื่นชอบ…

  • Title

    Go to Top