นมผึ้ง ชะลอวัย ต้านแก่ สุดยอดยาอายุวัฒนะ

นมผึ้ง เป็นผลผลิตที่หลั่งออกมาจากต่อมไฮโปฟาริงจ์ (Hypopharyngeal Gland) ของผึ้งงาน นมผึ้งมีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวคล้ายน้ำนม รสหวาน มีกลิ่นเปรี้ยวเล็กน้อย เป็นอาหารหลักของผึ้งนางพญาและตัวอ่อนผึ้งเพื่อช่วยกระตุ้นในการเจริญเติบโต หลายประเทศใช้นมผึ้งในฐานะยารักษาโรค ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือแม้กระทั่งเป็นส่วนผสมของครีมบำรุงและเครื่องสำอาง

นมผึ้งมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลักประมาณ 60-70% และอุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น โปรตีน น้ำตาล วิตามิน เกลือแร่ และกรดอะมิโน นอกจากนี้ ยังพบสารอื่นในนมผึ้ง ได้แก่ กรดไขมันเอชดีเอ (10-Hydroxy-Trans-2-Decenoic Acid) ซึ่งเป็นสารที่มีบทบาทในการเจริญเติบโตของผึ้ง สารแอซิติลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความรู้สึกและกลไกการทำงานของร่างกาย รวมถึงฮอร์โมนเพศ เช่น เทสโทสเตอโรน โปรเจสเตอโรน เป็นต้น ทั้งนี้สถานที่ ภูมิศาสตร์ และสภาพอากาศเป็นตัวแปรที่ทำให้ส่วนประกอบของนมผึ้งแตกต่างกันออกไป หลายคนเชื่อว่าการรับประทานนมผึ้งอาจมีส่วนช่วยบรรเทาอาการวัยทอง กระตุ้นระบบภูมิต้านทานร่างกาย รักษาเบาหวาน รวมถึงแผลเบาหวาน เป็นต้น อีกทั้งยังเชื่อกันอีกว่าหากนำนมผึ้งทาที่หนังศีรษะอาจช่วยกระตุ้นการเจริญเติบของเส้นผมอีกด้วย

คุณประโยชน์นมผึ้ง

  • ช่วยเพิ่มกระบวนการดูดซึมสารอาหารให้ดีขึ้น
  • ทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
  • ทำให้ลดภาวะความเครียด
  • ช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง (red blood cell )
  • ช่วยเพิ่มการขับคาร์บอนไดออกไซด์ให้ดีขึ้น
  • ปรับสมดุลฮอร์โมนทางเพศทั้งชายและหญิง
  • ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและเม็ดเลือดขาว ต่อสู้กับเชื่อโรคในร่างกายขจัดพิษได้ดี
  • เป็นอาหารเสริมบำรุงสำหรับผู้ป่วยพักฟื้น
  • สำหรับเพศชายช่วยเรื่องการสร้างสเปิร์มที่แข็งแรง,เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ (เหมาะกับผู้ที่ต้องการมีบุตรแต่อายุเริ่มมากขึ้น)
  • สำหรับเพศหญิงช่วยเรื่องการหมดประจำเดือนช้าลง (ข้อดี คือ จะช่วยคงความสาวนานขึ้้นอีก 20% )
  • สำหรับเด็กและผู้สูงอายุจะช่วยเรื่องของความแข็งแรงหนาแน่นมวลกระดูกเพิ่มขึ้นและมีผลต่อระบบหมุนเวียนโลหิต

ความปลอดภัยในการรับประทานนมผึ้ง

การรับประทานนมผึ้งค่อนข้างปลอดภัยหากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม แต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น เลือดออกในลำไส้ ปวดท้อง หรือถ่ายเป็นเลือด เป็นต้น บางรายหากมีอาการแพ้อย่างรุนแรงอาจทำให้มีอาการหอบหืด คอบวม หรือถึงขั้นเสียชีวิต อีกทั้งการใช้นมผึ้งทาที่บริเวณผิวหนังค่อนข้างปลอดภัย แต่ไม่ควรทาบริเวณหนังศีรษะเพราะอาจทำให้เกิดอาการแพ้ ผื่นคัน หรือมีอาการอักเสบ

ข้อควรระวังในการรับประทานนมผึ้งโดยเฉพาะบุคคลในกลุ่มดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของนมผึ้ง ดังนั้นจึงไม่ควรรั
  • ประทานนมผึ้งหากกำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร
  • ผู้ป่วยโรคหอบหืดหรือผู้ที่มีอาการแพ้ผลิตภัณฑ์ที่มีนมผึ้งเป็นส่วนประกอบ อาจทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • ผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบ การรับประทานหรือทานมผึ้งอาจทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น
  • ผู้ป่วยความดันโลหิตต่ำ การรับประทานนมผึ้งอาจทำให้ระดับความดันโลหิตลดต่ำลงมากเกินไป
  • ผู้ที่อยู่ในช่วงรับประทานยารักษาโรค เช่น ยาวาร์ฟาริน เพราะการรับประทานนมผึ้งอาจเสี่ยงต่อการเกิดแผลฟกช้ำได้ง่าย