หอยนางรม อาหารที่ทรงคุณค่าสำหรับบุรุษ

หากพูดถึงอาหารบำรุงร่างกายและสมรรถภาพทางเพศแล้ว คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ชื่อของ “หอยนางรม” (Oyster) มักเป็นอาหารประเภทแรกๆ ที่หลายคนนึกถึง

หอยนางรมสามารถรับประทานได้ทั้งแบบสด นำมาปรุงสุกและนำมาแปรรูปในรูปแบบของซอสหรือผงปรุงรส ด้วยคุณประโยชน์เด่นของหอยนางรมคือเป็นแหล่งของวิตามินนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นวิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี 2 วิตามินซี และวิตามินดี จึงทำให้หอยนางรมเป็นอาหารยอดฮิตในหมู่คนรักสุขภาพได้ไม่ยาก

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินกันมาบ้างว่า “หอยนางรม” เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สามารถเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ เนื่องจากปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นความเครียด โภชนาการที่ไม่สมดุลการขาดการออกกำลังกาย รวมไปถึงความผิดปกติของฮอร์โมน ล้วนเป็นปัจจัยส่งผลต่อการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ทั้งนั้น โดยเฉพาะในเพศชาย แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปหากคุณผู้ชายได้ลอง “โด๊ป” หอยนางรมสักตัวสองตัว

จากงานวิจัยในต่างประเทศหลายฉบับมีการเผยแพร่ข้อมูลที่น่าสนใจว่าในหอยนางรมมีสารประกอบสำคัญอย่าง ทอรีน (Taurine) ส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทมีผลต่อการทำงานของต่อมหมวกไต ซึ่งมีหน้าที่หลั่งฮอร์โมนเพศชาย และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงานให้กับร่างกาย เสริมสร้างให้ระบบอวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ในหอยนางรมยังมีสารอาหารอีกหนึ่งชนิดคือ ซิงค์ (Zinc) ที่จะทำหน้าที่ควบคู่กับ ทอรีน ในการกระตุ้นระบบประสาทและสมอง เพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้ดียิ่งขึ้น

กรดอะมิโน ทอรีน ส่งผลให้การทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อและหลอดเลือดทำงานได้เป็นปกติ ช่วยในกระบวนสร้างฮอร์โมนเพศชายคือ เทสโทสเตอโรน ทำให้มีสมรรถภาพทางเพศที่ดีขึ้นและป้องกันต่อมลูกหมากอักเสบและฮอร์โมนเทสโตสเตอโรนทำให้มีการไหลเวียนของกระแสโลหิตดี ทำให้เนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนและอาหารได้ดี

ช่วยส่งเสริมการสร้างสเปิร์มหรือตัวอสุจิในเพศชาย ช่วยให้การผลิตเชื้ออสุจิอยู่ในปริมาณที่ปกติช่วยกระตุ้นความต้องการทางเพศ ด้วยเหตุนี้เองทำให้นิยมนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ชาย กันอย่างแพร่หลาย

หอยนางรม ประโยชน์ต่อสุขภาพ เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ

หอยนางรมเป็นอาหารทะเลที่มีไขมันและแคลอรี่ต่ำ แต่อุดมไปด้วยสารโภชนาการต่าง ๆ คนจึงเชื่อว่าการรับประทานหอยนางรมณ์อาจช่วยส่งเสริมสุขภาพด้านต่าง ๆ รักษาหรือป้องกันโรคภัยบางชนิด และยังมีความเชื่อที่ว่าการบริโภคหอยนางรมดิบอาจช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศได้ด้วย

หอยนางรมเป็นแหล่งสารอาหารสำคัญของวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น สังกะสี ทองแดง วิตามินบี 12 วิตามินดี โปรตีน และโอเมก้า 3 เป็นต้น โดยหอยนางรมปริมาณ 100 กรัม จะให้พลังงานเพียง 68 แคลอรี่ แต่มีโอเมก้า 3 สูงถึง 672 กรัม ในขณะที่มีสังกะสี วิตามินบี 12 และทองแดงสูงถึง 600, 300 และ 200 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่ร่างกายควรได้รับ/วันตามลำดับ นอกจากนี้ หอยนางรมยังมีระดับไขมันคอเลสเตอรอลต่ำเมื่อเทียบกับอาหารทะเลชนิดอื่น ๆ โดยหอยนางรมดิบปริมาณ 85 กรัมมีคอเลสเตอรอลเพียง 21 มิลลิกรัมเท่านั้น ในขณะที่ปลาแซลมอน ปู และกุ้งมีไขมันชนิดนี้สูงถึง 54, 85 และ 166 มิลลิกรัมตามลำดับ

ดังนั้น หอยนางรมจึงทำให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารอย่างหลากหลายในปริมาณมาก ส่วนสรรพคุณทางยาของหอยนางรมนั้นจะเป็นจริงมากน้อยเพียงใด มีหลักฐานทางการแพทย์บางส่วนพิสูจน์บางแง่มุมไว้ ดังต่อไปนี้

กระตุ้นระบบสืบพันธุ์ และเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

หอยนางรมขึ้นชื่อด้านเป็นยากระตุ้นสมรรถภาพทางเพศตามธรรมชาติ เนื่องจากหอยนางรมอุดมไปด้วยแร่สังกะสีที่ช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะเพศได้ดีขึ้น และหากผู้หญิงขาดแร่สังกะสีอาจกระทบต่อระบบสืบพันธุ์โดยอาจทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ ชะลอการผลิตไข่ที่มีคุณภาพดี และทำให้ฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเทอโรนลดต่ำลงด้วย จึงเชื่อว่าการบริโภคหอยนางรมอาจช่วยเพิ่มแร่สังกะสีซึ่งเป็นประโยชน์ต่อระบบสืบพันธุ์ และยังกระตุ้นอารมณ์ทางเพศหรือเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง จึงมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ค้นคว้าในด้านนี้

มีงานค้นคว้าหนึ่งในอดีตเปิดเผยว่า การบริโภคหอยนางรม หอยเชลล์ และหอยกาบช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนและฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเทอโรน ซึ่งการเพิ่มระดับของฮอร์โมนดังกล่าวอาจทำให้ผู้ทดลองหลายรายมีความต้องการทางเพศเพิ่มสูงขึ้น และยังมีงานวิจัยที่พบว่าสารสกัดจากหอยนางรมอาจช่วยกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศและเพิ่มความทนทานในขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม การศึกษาคุณสมบัติในด้านนี้ของหอยนางรมยังมีจำกัดและล้วนเป็นงานค้นคว้าเก่า ดังนั้น ผู้บริโภคจึงควรระมัดระวังในการรับประทานหอยนางรม และควรรับประทานอาหารอย่างหลากหลายเพื่อให้ได้สารอาหารอย่างครบถ้วน ซึ่งนอกจากหอยนางรม ผู้บริโภคยังสามารถได้รับธาตุสังกะสีจากอาหารชนิดอื่น ๆ ได้เช่นกัน เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม ถั่ว ไข่ ธัญพืช เนื้อสัตว์ปีก เนื้อวัว เป็นต้น

ลดระดับไขมันในเลือด

ภาวะไขมันในเลือดสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคและการเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งอาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังหรือร้ายแรงตามมาได้ หอยนางรมเป็นอาหารที่มีไขมันต่ำ จึงคาดว่าการบริโภคหอยนางรมอาจช่วยลดหรือควบคุมระดับไขมันในเลือด

จากการค้นคว้าที่ผ่านมา มีการใช้สารสกัดจากหอยนางรมกับหนูทดลองที่มีไขมันในตับแล้วพบว่า สารสกัดจากหอยนางรมมีคุณสมบัติช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ลง รวมถึงช่วยลดระดับความดันโลหิตลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับอีกกลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัดนี้

ส่วนงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่ศึกษาประสิทธิผลของเปลือกหอยนางรม พบว่าสารสกัดเอทานอลจากเปลือกหอยนางรมช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ได้ แต่ไม่มีผลต่อการลดระดับไขมันคอเลสเตอรอล และคาดว่าหอยนางรมยังอาจเป็นประโยชน์ต่อการรักษาหรือป้องกันภาวะระบบเผาผลาญของร่างกายทำงานผิดปกติได้ด้วย

แม้มีการศึกษาบางส่วนพิสูจน์ประสิทธิผลของหอยนางรมด้านการลดระดับไขมันในเลือด แต่ยังขาดงานวิจัยสนับสนุนที่ค้นคว้าทดลองในมนุษย์ จึงควรศึกษาด้านนี้ให้ชัดเจนต่อไป เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในอนาคต

ลดระดับความดันโลหิต

ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะความดันเลือดภายในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงตามมาจนอาจถึงแก่ชีวิตได้ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจึงต้องดูแลตนเองเป็นพิเศษรวมไปถึงเรื่องอาหารการกินด้วย โดยมีงานค้นคว้าบางส่วนที่คาดว่าหอยนางรมอาจช่วยลดระดับความดันโลหิตได้

การวิจัยหนึ่งที่ทดสอบประสิทธิภาพในการลดระดับความดันโลหิตของหอยนางรมในหนูทดลอง พบว่าการใช้สารสกัดโพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide) จากหอยนางรมช่วยลดระดับความดันโลหิตของหนูทดลองที่มีภาวะความดันโลหิตสูงได้ โดยสามารถลดระดับได้ทั้งความดันตัวบน (Systolic) และความดันตัวล่าง (Diastolic) ส่วนอีกการวิจัยหนึ่งที่ทดลองใช้สารสกัดจากหอยนางรมที่มีคุณสมบัติคล้ายยาลดความดันกลุ่ม ACEI กับหนูทดลองที่มีระดับความดันโลหิตสูง ก็พบว่าสารดังกล่าวช่วยลดระดับความดันโลหิตตัวบนได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม งานค้นคว้าดังกล่าวเป็นเพียงงานทดลองในสัตว์ จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมโดยทดลองในคน เพื่อประยุกต์ใช้หอยนางรมเพื่อรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้ต่อไป

รักษาและป้องกันโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่ผู้ป่วยมีความหนาแน่นและมวลของกระดูกลดลง ทำให้กระดูกเสื่อม เปราะ บาง ผิดรูปและแตกหักได้ง่าย หอยนางรมมีสารอาหารนานาชนิดรวมทั้งแคลเซียมและวิตามินดีที่มีส่วนสำคัญในกระบวนการสร้างกระดูก หลายคนจึงเชื่อว่าการบริโภคหอยนางรมอาจช่วยรักษาหรือป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ด้วย ซึ่งมีงานวิจัยหนึ่งที่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว โดยทดลองให้หนูบริโภคอาหารชนิดต่าง ๆ เสริมด้วยหอยนางรม ผลการทดลองพบว่าหอยนางรมอาจมีประสิทธิภาพในการรักษาและป้องกันโรคกระดูกพรุนได้

นอกจากการรับประทานหอยนางรม คนทั่วไปควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม ธัญพืช และพืชผักใบเขียว โดยหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอออล์ เพื่อบำรุงกระดูกให้แข็งแรง ส่วนผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาและบริโภคอาหารต่าง ๆ ในปริมาณที่เหมาะสมต่อไป

รักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี

โรคไวรัสตับอักเสบ บี (Hepatitis B) คือ โรคตับจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะที่เป็นอันตรายต่อตับจนเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ เช่น ตับวาย ตับแข็ง และมะเร็งตับ เนื่องจากหอยนางรมมีสารโภชนาการที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด จึงคาดว่าสารเหล่านั้นอาจช่วยบำรุงและซ่อมแซมความเสียหายของตับได้ด้วย จึงมีการศึกษาประโยชน์ของการบริโภคหอยนางรมในผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบ บี โดยมีงานวิจัยหนึ่งทดลองให้ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบ บี ที่ป่วยอย่างเรื้อรังบริโภคอาหารชนิดต่าง ๆ ร่วมกับการรับประทานยาต้านไวรัสลามิวูดีน พบว่าอาหารต่าง ๆ ที่ถูกนำมาต้มเป็นยา เช่น เปลือกส้มเขียวหวาน กระดองเต่า กึ๋นไก่ รวมทั้งหอยนางรม ช่วยให้ตับของผู้ป่วยทำงานได้ดีขึ้น แต่ควรมีการค้นคว้าโดยให้ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ บี ทดลองบริโภคหอยนางรมเพียงอย่างเดียว แล้วศึกษาประสิทธิผลทางการรักษาโรคนี้ให้แน่ชัดต่อไป

บำรุงสายตา

หอยนางรมอุดมไปด้วยแร่ธาตุสังกะสีซึ่งช่วยนำวิตามินเอจากตับไปสร้างเม็ดสีเมลานินที่จอประสาทตา และจากการศึกษาเกี่ยวกับโรคตาที่สัมพันธ์กับอายุ พบว่าการบริโภคแร่สังกะสีจากอาหารที่อุดมไปด้วยสังกะสีอย่างหอยนางรมและปูอาจช่วยชะลอการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้

อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคต้องรับประทานหอยนางรมและปูในปริมาณที่ทำให้ได้รับแร่สังกะสี 80 มิลลิกรัม จึงจะมีผลต่อการบำรุงสายตาตามการศึกษาดังกล่าว

ประโยชน์ของสารสกัด Oyster extract (หอยนางรม)

  • ช่วยเพิ่มความรู้สึกทางเพศในผู้ชายมากขึ้น
  • ช่วยรักษาและป้องกันการเป็นหมันในผู้ชาย
  • ช่วยป้องกันและลดภาวะความเสี่ยงโรคต่อมลูกหมากโต ต่อมลูกหมากอักเสบ
  • ช่วยควบคุมความดันโลหิต
  • ช่วยควบคุมการแลกเปลี่ยนของออกซิเจนในเซลล์
  • ป้องกันการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งอย่างเป็นธรรมชาติ
  • ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา บริเวณปลายมือ ปลายเท้า
  • ช่วยในการขับปัสสาวะ

การรับประทานหอยนางรมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การรับประทานหอยนางรมสดๆจะมีอันตรายเพราะมีเชื้อไวรัสตับอักเสบ และพยาธิที่ก่อให้เกิดโรคติดตามมามากมาย หรือหอยที่ผ่านการปรุงรสก็อาจจะไม่ได้รับสารอาหารครบถ้วน เพราะสารอาหารเหล่านั้นจะถูกความร้อนที่ใช้ในการปรุงอาหารทำลายไปแล้ว

ทางออกที่ปลอดภัยและได้รับสารอาหารจากหอยนางรมครบถ้วนคือ การเลือกทานอาหารเสริมที่สกัดเอาคุณประโยชน์จากหอยนางรมได้อย่างครบถ้วนในปริมาณที่พอเหมาะกับร่างกายและปราศจากผลข้างเคียง

จะเห็นได้ว่าการทานสารสกัดจากหอยนางรมนั้น มีประโยชน์สำหรับเพศชายเป็นอย่างมาก คุณผู้ชายทุกคนไม่ควรละเลยเรื่องสุขภาพเพื่อตัวคุณเอง และคนที่คุณรัก